นวัตกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย

ประเภทของการใช้นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย

                  ประเภทของนวัตกรรมการศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542   ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายมาตรา มาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและในมาตรา 22 “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัย การทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ

1. นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
เป็นนวัตกรรมที่มีขอบเขต เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกด้าน ตั้งแต่หลักสูตร การเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยี ทางการศึกษา การวัดและประเมินผล และการบริหาร ทัศนา แขมมณี (2526 : 13) และวาทิต ระถี (2531) ได้แบ่งประเภทนวัตกรรมการศึกษาออกเป็น 5 ด้าน คือ

  1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร

    แนวคิดการสอนแบบ ไฮสโคป

    หลักการ
    โปรแกรมไฮสโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและ กิจกรรมที่เหมาะ สมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น

    ทฤษฎีที่มีอิทธิพล
    ในระยะเริ่มต้น การพัฒนาโปรแกรมไฮสโคปใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) เป็นพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนซึ่งเน้น การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) ระยะต่อมามีการผสมผสานทฤษฎี และแนวคิดอื่นๆ เช่น ทฤษฎีของอีริกสัน (Erikson) ในเรื่องการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ อย่างอิสระและทฤษฎีของ ไวก๊อตสกี้ (Vygotsky) ในเรื่อง ปฏิสัมพันธ์และการใช้ภาษา เป็นต้น

    การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)
    หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็น พื้นฐานสําคัญ ในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมาก ที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่าง เหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลง มือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่ง สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วย ตนเอง (Hohmann and Weikart,1995) ทั้งนี้ องค์ประกอบของ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ได้แก่

    1. การเลือกและตัดสินใจ เด็กจะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจากความสนใจและความตั้งใจของตนเอง เด็กเป็นผู้เลือกวัสดุอุปกรณ ์และตัดสินใจว่า จะใช้วัสดุอุปกรณ์นั้นอย่างไร การที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจทํา ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตน เองมากกว่าได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้ใหญ่ ดังนั้นผู้ใหญ่ที่ ตระหนักถึงความสำคัญเรื่อง การเลือก และการตัดสินใจต้องจัดให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกได้ตลอด ทั้งวันขณะที่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่ใช่่เฉพาะ ในช่วงเวลาเล่นเสรีเท่านั้น

    2. สื่อ ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะมีเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ หลากหลาย เพียงพอ และเหมาะสมกับระดับอายุของเด็ก เด็กต้องมีโอกาสและมีเวลา เพียงพอ ที่จะเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ เมื่อเด็กใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เด็กจะมีโอกาส เชื่อมโยงการ กระทำต่าง ๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาส ในการแก้ปัญหา มากขึ้นด้วย

    3. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กได้สำรวจ และจัดกระทำกับวัตถุโดยตรงทำให้เด็กรู้จักวัตถุ หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับวัตถุ แล้วเด็กจะนำวัตถ
    ุต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องกันและเรียนร ู้เรื่องความสัมพันธ์ ผู้ใหญ่มีหน้าที่จัดให้เด็กค้นพบความสัมพันธ ์เหล่านี้ด้วยตนเอง

    4. ภาษาจากเด็ก สิ่งที่เด็กพูดจะสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็ก ในห้อง เรียนที่เด็กเรียนรู้ แบบลงมือกระทําเด็กมักจะเล่าว่าตน กําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วใน แต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษา เพื่อสื่อความคิดและรู้จักฟังความคิด เห็นของผู้อื่น เด็กจะเรียนรู้วิธีการพูด ที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ได้พัฒนาการ คิดควบคู่ ไปกับการพัฒนา ความเชื่อมั่นในตนเองด้วย

    5. การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในห้องเรียนการเรียนรู้แบบลงมือกระทําต้องสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก สังเกตและค้นหา ความตั้งใจ ความสนใจของเด็ก ผู้ใหญ่ควรรับฟังเด็ก ส่งเสริมให้เด็กคิดและ ทําสิ่งต่าง ๆ ด้วยตน เอง ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบ ลงมือกระทํา เด็กจะเผชิญกับประสบการณ์สําคัญ ซํ้าแล้วซํ้า อีกในชีวิตประจําวันอย่าง เป็นธรรมชาติ ประสบการณ์สําคัญเป็นกุญแจที่จําเป็นในการสร้าง องค์ความรู้ของ เด็กเป็นเสมือนกรอบความคิด ที่จะทําความเข้าใจการเรียนรู้แบบลงมือ กระทํา เราสามารถให้คําจํากัดความได้ว่า ประสบการณ์สําคัญเป็นส่วนหนึ่งของ ความรู้ที่เด็กจะต้องหามา ให้ได้โดยการปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ คน แนวคิดและเหตุการณ์ สำคัญต่างๆ อย่างหลากหลาย ประสบ การณ์สำคัญเป็นกรอบ ความคิดให้กับผู้ใหญ่ในการเข้าใจการเรียนรู้ของเด็ก สามารถวางแผน การจัดประสบ การณ์เพื่อส่งเสริมและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสม86_4

สอบปลายภาค

เป็นการสอบปลายภาคที่ตื่นเต้นมาก และเป็นข้อสอบที่แปลกมากตั้งแต่สอบมา เป็นการสอบที่มีไม่กี่ข้อ                   แต่เป็นข้อสอบที่ต้องเขียนมากและต้องใช้ความคิดประยุกต์ใช้กับเรื่องที่เรียนมาแต่ก็สนุกดีได้ฝึกทักษะการคิด การวิเคราะห์ และการประยุกต์ใช้

20141015123656

สัปดาห์ ที่ 16 ทบทวนบทเรียน

เป็นการทวนทวนบทเรียนที่ผ่านมาทั้ง 15 สัปดาห์ และการใช้สื่อในการเรียนการสอน เช่น kahoot Class start        prezi ในการนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนต่อไปในภายภาคหน้า สัปดาห์นี้อาจารย์น่ารักมาก ตั้งแต่เรียนมา15 สัปดาห์

 

Gs-iC00

ุ่สัปดาห์ที่ 15 การสนทนาถึงการดูวิดีทัศน์ เรื่องเสียงกู่จากครูใหญ่

เป็นการช่วยกันเล่าเรื่องจากการชมวิดีทัศน์เรื่องเสียงกู่จากครูใหญ่ ว่ามีเหตุการณ์อะไรบ้างที่เกิดขึ้นว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ผลเป็นอย่างไรบ้าง “เสียงกู่จากครูใหญ่” หนังเกาหลี ที่ถ่ายทอดชีวิตจริงของครูใหญ่คนหนึ่งซึ่งได้ตั้ง วิสัยทัศน์ของโรงเรียนไว้ว่า “การทำงานหนักเป็นดอกไม้งามของชีวิต”
เมื่อวันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2554 ดิฉันได้เรียนวิชา ทฤษฏีและแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ดร.ประกอบ ใจมั่น ได้ให้นักศึกษาดู หนังเกาหลีเรื่อง “เสียงกู่จากครูใหญ่” เรื่องมีอยู่ว่า ครูใหญ่คนหนึ่งได้รับคำสั่งให้ไปสอนหนังสือที่หมู่บ้านทุรกันดาร ครูใหญ่ได้ เดินทางไปกับรถโดยสารเก่าๆ บนเส้นทางที่แสนจะธุระกันดาร จนกระทั่งถึงปากทางเข้าหมู่บ้าน ซึ่งมีภารโรงไปคอยรับ แต่เมื่อเห็นสภาพการแต่งตัวของครูใหญ่ก็ไม่เชื่อถือ และไม่ช่วยครูใหญ่ถือสัมภาระอันหนักอึ้งซึ่งต้องแบกเดินข้ามภูเขา แต่เมื่อเดินทางไปด้วยกันได้พูดคุยกับครูใหญ่ก็เริ่มศรัทธาและช่วยเหลือครูใหญ่ เมื่อไปถึงโรงเรียนครูใหญ่ก็เดินสำรวจ ทักทายนักเรียน และประชุมครู กำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียนนั่นคือ “การทำงานหนักเป็นดอกไม้งามของชีวิต” ครูใหญ่ลงมือทำงานทุกอย่างด้วยตนเอง โดยมุ่งมั่นพัฒนาโรงเรียน ชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี มุ่งมั่นตั้งใจสร้างโรงเรียนโดยประชุมคนในหมู่บ้านเพื่อแจ้งให้ทราบถึงความตั้งใจในการสร้างโรงเรียนเพื่อให้มีห้องเรียนเพิ่มขึ้น เพียงพอต่อความต้องการและมีอุปกรณ์การเรียนที่พร้อมเรียน ให้ลูกหลานในหมู่บ้านมีการศึกษาที่ดีขึ้น ถึงแม้จะไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชน ในช่วงแรกๆ ครูใหญ่ก็ไม่ย่อท้อ มุ่งมั่นและตั้งใจพัฒนาอย่างแท้จริง และได้ลงมือกระทำโดยไม่รอขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด จนในที่สุดครูใหญ่ก็ได้รับการยอมรับ ผู้คนในชุมชนเชื่อมั่นและศรัทธาครูใหญ่ และทุกฝ่ายก็ร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลืองาน และได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย เด็กที่เคยไปเรียนไกลๆ ก็กลับมาเรียนยังโรงเรียนแห่งนี้มากขึ้น เหตุการณ์เหล่านี้เป็นการพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งข่าวการเป็นนักพัฒนาตัวอย่างที่สามารถทำให้หมู่บ้านแห่งนี้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
จากการดูหนังเรื่องนี้ ทำให้ดิฉันได้แนวคิดในการทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาคือ การพัฒนาต้องมีวิสัยทัศน์ ความมุ่งมั่นและตั้งใจอย่างแน่วแน่ มีเป้าหมายชัดเจนว่าทำไปเพื่ออะไร ทำไปแล้วเกิดประโยชน์กับใครบ้าง ส่งผลต่ออนาคตอย่างไร และประเด็นสำคัญต้องไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก ทำให้ดูอยู่ให้เห็น ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี การมีส่วนร่วม การสร้างจิตสาธารณะให้เกิดในตัวของทุกคน เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ เกิดความรู้สึกหวงแหน สร้างความสามัคคี สร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นในตัวแล้วความศรัทธาจะตามมา มีภาวะความเป็นผู้นำ มีกลยุทธ์ ยุทธวิธี ในการทำกิจกรรมให้เกิดความสำเร็จ และเน้นทำงานเพื่อชุมชนและสังคม มุ่งพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน

hqdefault

 

สัปดาห์ที่ 14 การนำเสนองาน

เป็นการนำเสนองานสับดาห์สุดท้ายของเพื่อนๆ ที่หลากหลายรูปแบบเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ

บทหลักที่แสดงถึงการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการเรียนรู้ บทบาทของครู และบทบาทของผู้เรียน

1. ครูที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง
2. ครูจึงควรกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ
3. ครูจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ
4. ครูควรสร้างภาวะที่กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้หรือคับข้องใจบ้าง ผู้เรียนจะหาคำตอบเพื่อให้หลุดพ้นจากความข้องใจ และเกิดความสุขขึ้นจากการได้เรียนรู้ เมื่อพบคำตอบด้วยตนเอง
5. ครูจึงควรสร้างกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ไม่รู้จบ
6. ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับรู้ผลการพัฒนาของตัวเขาเองด้วย

krtnn-8

สัปดาห์ที่ 13 วันสงกรานต์

พิธีสงกรานต์เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ สังคมไทยสมัยใหม่เกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีการประชาสัมพันธ์ในเชิงท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ เทศกาลแห่งน้ำซึ่งตัดส่วนที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมไป

3124_1024x768.jpg

สัปดาห์ ที่ 12 นำเสนองาน

มนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เนื่องจากมีหลักการ และทฤษฎีที่เป็นข้อความรู้ และการนำหลักการ หรือทฤษฎีไปปฏิบัติให้ประสบ ความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยเทคนิควิธีการซึ่งถือเป็น ศิลปะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล จะสังเกตเห็นได้อย่างหนึ่งว่า คนแต่ละคน มีความสามารถในการติดต่อกับผู้ อื่นไม่เท่ากัน บางคนเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก มีเพื่อนมากหน้าหลายตา และมีคนที่อยากพูดคุยติดต่อ หรือทำงานร่วมกับเขามากมาย ในขณะที่บางคนไม่ค่อยมีใครอยาก จะเข้าใกล้ หรือทำงานร่วมด้วย นั่นเป็นเพราะเขาขาดศิลปะในการติดต่อกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่รู้หลักการว่าควรทำอย่างไร หรือเป็นเพราะนำหลักการไปใช้ไม่ ถูกวิธี ดังนั้น การที่คนเราจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี และหมั่นฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ จนสามารถนำหลักการ ความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

can-stock-photo_csp22577821

สัปดาห์ ที่ 10 สอบกลางภาค

ข้อสอบ 70 ข้อ มีตัวเลือก 3 ตัวเลือก โดยคำตอบจะมีการตอบ 3 แบบ คือ กาผิด กาถูก และเว้นช่องว่างไว้ หนูคิดว่าข้อสอบของอาจารย์ไม่ยากเท่าไหร่นะค่ะแต่มันดูคล้ายคลึงกันไปหมด ตอบผิดตอบถูกกันไปตามระดับความฉลาดและก็สนุกดีค่ะได้ทำข้อสอบที่ไม่เหมือนการทำข้อสอบของอาจารย์อื่นๆ

reading

สัปดาห์ ที่ 9 การฝึกทักษะการใช้ Ict เพื่อการบริหารจัดการในชั้นเรียน

เป็นการฝึกหัด มายแม็พ ตอนแรกๆฉันก็คิดว่าเป็นอะไรที่ยากมาก แต่พอได้ลงมือเรียนรู้วิธีการทำแล้วฉันก็คิดว่าฉันก็ทำได้ถึงแม้งานจะออกมาไม่สวยสะดุดตาอาจารย์ก็ตาม แต่ฉันก็จะพยายามและพัฒนาทักษะด้าน ict ต่อไปค่ะ ให้เหมาะกับการเป็นครูในยุกศตวรรษที่ 21

การเขียนโครงการ

หลักการบริหารจัดการ

ภาวะผู้นำ

การบริหารจัดการ

การทำงานเป็นทีม

การคิดอย่างเป็นระบบ

การเขียนและบริหารจัดการ

สัปดาห์ ที่ 8 การเขียนสรุปโครงการ

เป็นการรวบรวมสรุปข้อมูล เนื้อหา และแก้ไขโครงการจากที่ได้ไปทำกิจกรรมกับทางโรงเรียนบ้านคลองดิน จังหวัดนครศรีธรรมราช  รวบรวมให้เป็นรูปเล่มโครงการที่สมบูรณ์

B100612F9R9